"Sky on Fire" ถือว่าเป็นการกลับมาในรอบหลายปี สู่วงการภาพยนตร์ฮ่องกงอย่างยิ่งใหญ่ ของสุดยอดผู้กำกับ "ริงโก้ แลม" ที่ได้รับการยกย่องจากคอหนังฮ่องกงว่า เป็น "ตำนานที่ยังมีลมหายใจอยู่" โดยเฉพาะผลงานไตรภาค ชุด On Fire (รวมถึง Prison On Fire) ที่กลับมาให้ได้ชมกันอีกครั้ง
จุดเด่น จุดแข็งที่เรียกว่าเป็นสไตล์เฉพาะตัวของการกำกับ คือตัวละครเอกในภาพยนตร์ของ ริงโก้ แลม ต้องแสดงฉากแอ๊คชั่นด้วยตนเองจริง ๆ ไร้ซึ่งสตันท์แมน ทำเอาแฟน ๆ ถึงกับเอ่ยปากเห็นใจดาราเหล่านั้น ที่ต้องเสี่ยงเจ็บตัวด้วยตนเองเพื่อความสมจริง และสะใจ ไม่เว้นแม้แต่ผลงานเรื่องล่าสุดของเขา "Sky on Fire" ที่เขาได้ให้สัญญากับแฟนหนังว่า จะเป็นการพัฒนาไปอีกขั้นสำหรับวงการภาพยนตร์ ทั้งเขียนบทและกำกับ ริงโก้ได้นำนักแสดงชายที่แตกต่างกัน 3 คนมาแสดงร่วมกัน แดเนียล วู, จางรั่วหวิน และ โจเซฟ จาง ในบริบทต่าง ๆ ผู้ชมได้เห็นพวกเขาเล่นทั้งเป็นพวกเดียวกันและเป็นศัตรูกัน
ดารานำตัวเอกของเรื่องอย่าง "แดเนียล วู" ได้แสดงเป็น หัวหน้ารักษาความปลอดภัย จงถิงป๋อ ชายผู้รับผิดชอบดูแลความปลอดภัยของทีมวิจัย เขาถูกชักชวนโดย "จางจิงฉู่" ผู้ซึ่งเล่นเป็น เกายู หัวหน้ากลุ่มนักวิทยาศาสตร์ซึ่งวิจัย "ซูเปอร์สเต็มเซลล์" ที่สามารถรักษาโรคร้ายและช่วยเพิ่มอายุขัยของมนุษย์ได้ สำหรับหนังเรื่องนี้ จิงฉู่ต้องถูกเติมแต่งด้วยการแต่งหน้าเทคนิคพิเศษสำหรับรอยแผลเป็นของเกายู ส่วน "โจเซฟ จาง" สวมบท เจียเจี่ย อันธพาลและคนขับรถบรรทุกชนชั้นรากหญ้า เขาแสดงร่วมจอกับ "แอมเบอร์ กัว" ผู้ซึ่งแสดงเป็น เจน น้องสาวบุญธรรมของเขา เพื่อที่จะรักษาเจน ที่ป่วยหนักและต่อชีวิตของเธอ เจียเจี่ย และเจนจึงเดินทางจากไต้หวันเข้าสู่ ฮ่องกง เพื่อหาทางรักษา อย่างไรก็ตาม ทั้งคู่ได้เข้าไปพัวพันกับเหตุการณ์ที่จะเปลี่ยนแปลงชีวิตของพวกเขา แอมเบอร์พูดตลก ๆ ว่าบทบาทของเธอได้ให้โอกาสให้เธอกลับไปเป็นเด็กอายุ 20 อีกครั้ง เธอเคยแสดงละครงิ้วในหมู่บ้านชนบท และได้อวดอีกว่าเธอได้แต่งตัวเป็น นักร้องละครเพลงบนเวทีเป็นครั้งแรกอีกด้วย
ดาราดาวรุ่ง "จางรั่วหวิน" เล่นเป็น เด็กกำพร้าที่มีอดีตเป็นปริศนา จากการช่วยเหลือของคนอื่น ตัวละครของรั่วหวินต้องการที่จะตามหาสมุดที่ถูกทิ้งไว้โดย ศาสตราจารย์ปุน พ่อของเขา ในขณะเดียวกันก็ตามหาชายคนที่ฆ่าพ่อของเขาพวกเขากล่าวว่าพวกเขาเป็นแฟนตัวยงของผู้กำกับ ริงโก้ แลม มาเป็นปี ๆ แล้วและสำหรับการร่วมงานกันครั้งนี้เป็นเหมือนฝันที่เป็นจริงของพวกเขา ถึงอย่างไรก็ตาม พวกเขาก็ยังเล่าถึงความสาหัส ของหนัง เพราะริงโก้เป็นคนทำหนังที่ซึ่งนำเหล่านักแสดงของตนไปเผชิญลำบากยากเข็ญกับฉากอันตรายต่าง ๆ ในหนังของเขา
ริงโก้กล่าวว่า "ที่เลือกชื่อ Sky on Fire เพราะว่า หนังเรื่องนี้เป็นเหมือนเชื้อเพลิงความรู้สึกโกรธเกลียดที่ถูกนำเสนอมาในรูปแบบของตึกสกายวัน มันเผยถึงสังคมชั้นสูงที่คอยกอบโกยด้วยวิธีที่โหดร้าย หนังทั้งเรื่องถูกขับเคลื่อนด้วยแรงโกรธเกรี้ยว มันเหมือนกับ แรงไฟที่โหม ไฟที่จ้องแต่จะเผาทำลาย แรงไฟที่โหมกระหน่ำนี้เปรียบดังแรงของความยุติธรรมที่เหนือขึ้นไปจรดตอนท้ายของเรื่อง"