ข่าว > ข่าวสัพเพเหระทั้งหมด > Webmaster Talk

ข้อมูลหนังดีแน่นๆ ก่อนดูหนังสัปดาห์นี้ 20 ก.พ.

18 ก.พ. 2557 12:14 น. | เปิดอ่าน 1495 | แสดงความคิดเห็น
แชร์หน้านี้ แชร์หน้านี้
 
สวัสดีเหล่าเพื่อนๆ สมาชิกเว็บหนังดีดอทคอมทุกท่าน สัปดาห์นี้มีหนังดีๆ ที่น่าดู 4 เรื่อง 4 แบบ ไม่ว่าจะเป็น Pompeii – ไฟนรกถล่มปอมเปอี , Saving Mr. Banks - สุภาพบุรุษนักฝัน , The Monuments Men - กองทัพฉกขุมทรัพย์โลกสะท้าน และ พี่ชาย - My Bromance ทั้งสี่เรื่องนี้จะเข้าฉายในบ้านเรา 20 กุมภาพันธ์นี้ วันนี้เว็บมาสเตอร์ ขอเสนอเกร็ดหนังดีๆ มาแนะนำเพื่อเป็นข้อมูลก่อนที่จะไปชมภาพยนตร์นะครับ 


Pompeii – ไฟนรกถล่มปอมเปอี
 
 
7 ข้อน่ารู้ก่อนดู Pompeii – ไฟนรกถล่มปอมเปอี
(1) อารยธรรม 800 ปี ดับสูญในเวลา 48 ชั่วโมง  
• เมืองปอมเปอี ถือว่าเป็นเมืองชายทะเลที่มีความเจริญรุ่งเรืองมากที่สุดเมืองหนึ่งของอิตาลีในยุคนั้น มีการสั่งสมอารยธรรมมายาวนานกกว่า 800 ปี ผู้คนหลงใหลในการใฝ่หาความสำราญ ชอบร้องรทำเพลง จนได้รับการขนานนามว่าเป็นลาส เวกัสแห่งศตวรรษนั้น แต่ในเวลาเพียง 2 วันจากการระเบิดของภูเขาไฟวิซูเวียส ปอมเปอี ก็กลายเป็นเพียงอดีตในแผนที่โลกไปกว่า 1,700 ปี 
 
(2) ปอมเปอี แผ่อาณาเขตแห่งหายนะไกลข้ามทวีป 
• รัศมีการทำลายล้างของภูเขาไฟวิซูเวียสไม่ได้แค่ทำให้ทั้งเมืองปอมเปอีหายไปจขากแผนที่โลก แต่ยังกินอาณาเขตเท่ากับสนามเบสบอลถึง 58 สนาม และทิ้งร่องรอยการระเบิดไกลถึงทวีปแอฟริกา 
 
(3) รอคอยกว่า 10 ปี เพื่อระเบิด “ปอมเปอี” ให้สุดสมจริง 
• ผู้สร้าง ผู้กำกับ รวมทั้งทีมงาน CG ของภาพยนตร์ ต้องใช้เวลาถึง 10 ปี ในการรอคอยให้วงการ CG ของฮอลลีวู้ดได้รับการพัฒนาเทียบเท่าปัจจุบันเสียก่อน จึงจะเห็นว่าถึงเวลาที่จะสร้างภาพของมหาวิบัติปอมเปอีได้อย่างสมจริงและน่าตื่นตะลึงสูงสุด 
 
(4) 50 นาทีถล่ม ปอมเปอี ตรึงทุกที่นั่ง หยุดทุกลมหายใจ  
• พบกับการถ่ายทอดฉากมหาวิบัติที่จะสะกดทุกสายตา กินเวลากว่า 50 นาทีบนจอภาพยนตร์ ไต่ระดับแห่งหายนะของปอมเปอีสู่ขีดสุด จากแผ่นดินไหว คลื่นยักษ์ ลูกไฟมหึมา และลาวาที่ไหลทะลัก พร้อมที่จะทำให้ผู้ชมทุกคนต้องลืมหายใจ 
 
(5) กลับสู่ “ปอมเปอี” ถ่ายทำจริง เพื่อที่สุดแห่งความสมจริง 
• ทีมงานของภาพยนตร์เรื่อว Pompeii ได้ยกกองไปถ่ายทำจริงที่เมืองปอมเปอี ประเทศอิตาลี เพื่อให้ได้ภาพของสเกลภูเขาไฟวิซูเวียสจริง รวทั้งยังมีไปเก็บภาพศพของเหยื่อจากเหตุการณ์จริงที่มคงสภาพแข็งเป็นหินปูนจากการเย็นตัวของลาวา 
 
(6) ถ่ายทอดภาพอย่างเหนือชั้นด้วยเทคนิคกล้องที่ไม่เหมือนใคร 
• การถ่ายทำภาพของมหาวิบัติภูเขาไฟที่ค่อยทำลายเมืองปอมเปอีให้เป็นจุณ ใช้อุปกรณ์ถ่ายทำชนิดพิเศษที่เรียกว่า “กล้องลอยฟ้า” ซึ่งจะผูกติดกับเฮลิคอปเตอร์บังคับ สามารถถ่ายทำในมุมที่สูงกว่า 200 ฟุตเหนือพื้นดิน 
 
(7) ทุ่มฟิตหุ่น พร้อมสู้ศึกปอมเปอี  
• โจทย์ท้าทายครั้งใหญ่ของนักแสดงชายในเรื่องโดยเฉพาะพระเอกหนุ่ม “คีธ แฮร์ริงตัน” และนักแสดงที่มารับบทเพื่อนนักรบกับเขา “อเดวาล อคินนูเย อัคบาเจ” คือการต้องฟิตร่างกายอย่างหนักหน่วง เพื่อให้สมบทบาทของนักรบแกลิเอเตอร์ผู้แข็งแกร่ง โดยสิ่งที่พวกเขาต้องทำทุกวันในการเตรียมตัว คือ เล่นคาดิโอ 1 ชม., ฝึกสตั๊นท์ และ เรียนฟันดาบ 2 ชม., เล่นเวท 1 ชม. และจบด้วยคาดิโออีก 1 ชม.  
 
 
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
 
The Monuments Men - กองทัพฉกขุมทรัพย์โลกสะท้าน
 
เรื่องน่ารู้ก่อนดู The Monuments Men - กองทัพฉกขุมทรัพย์โลกสะท้าน
ขณะที่ทีมผู้พิทักษ์ประวัติศาสตร์ก็มีหน้าที่กอบกู้และปกป้องผลางนศิลปะอันล้ค่าของชาวยุโรปนับล้านชิ้น มีผลงาน 2 ชิ้นที่มีความสำคัญเป็นพิเศษนั่นคือ Bruges Madonna และ Ghent Altarpiece 
 
The Bruges Madonna 
ผลงานชิ้นที่ 4 ของไมเคิลแองเจโล่คือพระแม่มารีและพระเยซู ซึ่งมีความแตกต่างจากมุมมองภาพเดิม พระแม่มารีไม่ได้อุ้มพระเยซูไว้ในอ้อมแขนหรือวางบนตัก แต่ได้เลื่อนลงมาที่ระหว่างเข่าของเธอราวกับให้พระองค์ได้เดินด้วยตัวพระองค์เองเป็นครั้งแรก แววตาของมารดาคล้ายจะรู้ถึงชะตากรรมของเขา 
 
 ในช่วงปี 1506 พี่น้อง Mouscron พ่อค้าเสื้อผ้า Flemish ผู้มั่งคั่งได้นำรูปปั้นหินอ่อนสูง 50 นิ้วในลักษณะที่ยืนอยู่ไปที่เบลเยียม ซึ่งถูกตั้งไว้บนแท่นบูชาของโบสถ์ของครอบครัวเขา ในโบสถ์ Notre-Dame ที่บรูซ ตั้งแต่นั้นมา Bruges Madonna จึงเป็นที่ขึ้นชื่อในเบลเยียมเป็นอย่างมาก รูปปั้นถูกเคลื่อนย้ายไปจากบรูซโดยพวกนาซีที่มาเก็บตัวเมื่อเดือนกันยายนปี 1944 ทีมผู้พิทักษ์ประวัติศาสตร์เป็นผู้พบเจอและนำกลับคืนมาได้ 
 
The Ghent Altarpiece 
 
The Adoration of the Mystic Lamb or Lamb of God เป็นศิลปะภาพวาดฝาผนังยุคแรกสไตล์ Flemish polyptych เป็นผลงานศิลปะที่น่าประทับใจและได้รับความเคารพมากที่สุดในโลกชิ้นหนึ่ง มีการเรียกกันทั่วไปว่า The Ghent Altarpiece เพราะบ้านเกิดอยู่ที่ St. Bavo’s Cathedral ในเมืองเบลเยียมแห่งเก้นต์ 
 
 มีความเชื่อกันว่าผลงานเริ่มสร้างขึ้นโดย Hubert Van Eyck เมื่อราวปี 1415 และน้องชายที่มีชื่อเสียงกว่าชื่อ แจน ได้สืบทอดต่อในช่วงที่ฮูเบิร์ตเสียชีวิตลงเมื่อปี 1426 แจนสร้างผลงานเสร็จเมื่อปี 1432 นักประวัติศาสตร์ศิลป์เห็นพ้องตรงกันว่าแจนเป็นคนวาดภาพนั้นโดยส่วนใหญ่ ภาพแท่นบูชาที่มีกระจก 12 บานเป็นการสร้างสรรค์ที่ซับซ้อน ซึ่งมีการประกอบด้วยบานประตู 8 บานที่ถูกวาด 2 ด้าน โดยต้องการนำเสนอสองมุมมองที่โดดเด่น ขึ้นอยู่กับว่าจะเปิดหรือปิดอยู่
 
The Ghent Altarpiece ยังเป็นที่เลื่องลือว่าเป็นผลงานศิลปะชิ้นหนึ่งที่ถูกขโมยไปบ่อยๆ 
 
ในปี 1566: แท่นบูชาถูกรื้อชิ้นส่วนและซ่อนไว้เพื่อเลี่ยงจากการถูกเผา เพราะเป็นสัญลักษณ์ของคาทอลิกโดย Calvinists 
 
ในปี 1784 - 1860: หน้าต่างสองบานที่มีภาพเปลือยของอดัมกับอีฟหายไปอย่างลึกลับ 
 
ในปี I794: หน้าต่างสี่บานที่แสดงถึง The Adoration ถูกกองทัพฝรั่งเศสนำไปไว้ที่ปารีส 
 
ในปี 1816/17: หน้าต่างบานเกล็ด 6 บานถูก William of Prussia ซื้อไป 
 
ในปี 1914-1918: แท่นบูชาถูกแยกใน 3 เมือง ได้แก่ บรัสเซิลส์ เบอร์ลินและเก้นต์ 
 
ในปี 1914: ชาวเยอรมันขโมยบานหน้าต่างแห่งอดัมและอีฟ ไป 
 
ในปี 1919: ประโยคนึงใน Treaty of Versailles มีการเรียกร้องจากนักวิจารณ์ศิลปะระดับโลกให้คืนบานหน้าต่าง ทั้งหมดสู่สถานที่เดิมในเก้นต์ ข้อเรียกร้องไม่เป็นผลจนกระทั่งปี 1923 
 
ในปี 1935: บานหน้าต่าง The Righteous Judges และ Saint John the Baptist ถูกขโมยไปเพื่อเรียกค่าไถ่ บานหน้าต่างเซนต์จอห์นได้กลับคืนมาเพื่อแสดงถึง “ความศรัทธา” โดยไม่มีการจ่ายค่าไถ่ผลงาน แต่ไม่มีการพบบานหน้าต่าง The Judges อีกเลย (ผู้ช่วยฟื้นฟูชาวเบลเยียม Jan van der Veken ได้วาดภาพใหม่แทนที่หายไปหลังสงครามโลกครั้งที่ 2) 

 

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

 

Saving Mr. Banks - สุภาพบุรุษนักฝัน

 

เกร็ดหนังดี ก่อนดู Saving Mr. Banks - สุภาพบุรุษนักฝัน

• วอลท์ ดิสนีย์ เริ่มต้นกระบวนการซื้อสิทธิหนังสือเรื่อง “Mary Poppins” ของพี.แอล. แทรเวอร์ส ในช่วงต้นยุค 40 แม้ว่าจะเวลาเกือบ 20 ปีกว่าจะคว้าสิทธิเรื่องนี้มาได้ ในตอนที่ “Mary Poppins” ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ในที่สุด ภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ได้รับห้ารางวัลอคาเดมี อวอร์ดจากทั้งหมด 13 รางวัลที่ได้รับการเสนอชื่อ ได้แก่สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (จูลี แอนดรูว์ส), เอฟเฟ็กต์ยอดเยี่ยม, ลำดับภาพยอดเยี่ยม, ดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยมและเพลงดั้งเดิมยอดเยี่ยม ส่วนสาขาอื่นๆ ที่ได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลได้แก่ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมและบทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม นอกจากนั้น ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังได้รับรางวัลออสการ์เทคนิคสำหรับเปโทร วลาฮอส, แวดส์เวิร์ธ โพห์ลและอับ อิเวิร์คส์ สำหรับการคิดและขัดเกลาเทคนิคการถ่ายทำแบบผสมผสานสีแบ็คกราวน์และโฟร์กราวน์ 

 
• ริชาร์ดและโรเบิร์ต เชอร์แมน ได้แต่งดนตรีประกอบภาพยนตร์ดั้งเดิมของเรื่องและได้แต่งเพลงที่ได้รับรางวัลออสการ์ปี 1964 “Chim Chim Cher-ee” ในเรื่อง เพลงนี้ขับร้องโดยเจสัน ชวอร์ทซ์แมน (ริชาร์ด) และบี.เจ. โนวัค (โรเบิร์ต) 
 
• ทราเวอร์ส กอฟฟ์ พ่อของพี.แอล. แทรเวอร์ส ผู้แต่ง “Mary Poppins” เป็นนายธนาคารและเป็นต้นแบบของมิสเตอร์แบงค์ พ่อในเรื่อง “Mary Poppins” ซึ่งเป็นตัวละครที่ได้รับความช่วยเหลือจากพี่เลี้ยงเด็กคนดังตามท้องเรื่อง 
 
• “Saving Mr. Banks” เป็นภาพยนตร์ดรามาขนาดยาวเรื่องแรกที่เล่าเรื่องราวของวอลท์ ดิสนีย์ นักธุรกิจคนดัง โดยมีทอม แฮงค์ เจ้าของสองรางวัลอคาเดมี อวอร์ด (“Philadelphia,” “Forrest Gump”) มารับบทพระเอกของเรื่อง 
 
• ในการสร้างลุคที่สมจริงให้กับบท พี.แอล. แทรเวอร์ส ผู้เขียน “Mary Poppins” ของเธอ เอ็มมา ธอมป์สันได้เลือกที่จะดัดผมเป็นเกลียวเล็กและไม่ได้สวมวิกเลย ทอม แฮงค์เองก็ไว้หนวดเพื่อให้เหมือนกับหนวดของวอลท์ ดิสนีย์เช่นกัน 
 
Saving Mr. Banks - สุภาพบุรุษนักฝัน
 
• ด้วยวัย 32 ปี เจสัน ชวอร์ซแมนมีอายุเท่ากับตัวละครของเขา นักแต่งเพลง ริชาร์ด เชอร์แมน ในตอนที่เรื่องราวนี้เกิดขึ้นในปี 1961 และด้วยวัย 34 ปี บี.เจ. โนวัค ก็มีอายุเท่ากับตัวละครของเขา โรเบิร์ต เชอร์แมน พี่ชายนักแต่งเพลงของริชาร์ด ในขณะนั้นด้วย 
 
• “Saving Mr. Banks” เป็นครั้งแรกที่พี่น้องต่างสายเลือด จอห์น (ผู้กำกับภาพ) และนักแสดงหนุ่ม เจสัน ชวอร์ซแมน (รับบทนักแต่งเพลง ริชาร์ด เชอร์แมน) ได้ทำงานร่วมกัน แม่ของเจสัน ซึ่งเป็นทายาทของทนายความในวงการและผู้อำนวยการสร้างแจ็ค ชวอร์ซแมน คือนักแสดงหญิงผู้ได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลออสการ์ ทาเลีย ไชร์ (“Godfather,” “Rocky”) ทำให้ไชร์เป็นแม่เลี้ยงของจอห์น (และทำให้ทั้งคู่เป็นหลานของฟรานซิส ฟอร์ด คอปโปลา) 
 
• ผู้ที่รับบทตัวประกอบในภาพยนตร์เรื่องนี้คือลีห์ แอนน์ ทูฮีย์ นางเอกของหนังสือและภาพยนตร์เรื่อง “The Blind Side” ที่กำกับโดยจอห์น ลี แฮนค็อก ใน “Saving Mr. Banks” เธอรับบทนักท่องเที่ยวดิสนีย์แลนด์ ที่ขอลายเซ็นของวอลท์ ดิสนีย์หลังจากที่พี.แอล. แทรเวอร์ส ผู้เขียน “Mary Poppins” มาถึงได้ไม่นาน 
 
• “Saving Mr. Banks” ถ่ายทำในบริเวณลอสแองเจลิสทั้งหมด โดยโลเกชันสำคัญๆ ได้แก่ดิสนีย์แลนด์ในอนาเฮม, ทีแอลซี ไชนิส เธียเตอร์ (เดิมเรียกว่ากราวแมนส์ ไชนิส เธียเตอร์) ในฮอลลีวูด (ที่ซึ่งเป็นสถานที่ฉายภาพยนตร์เรื่อง “Mary Poppins” รอบปฐมทัศน์ในปี 1964, วอลท์ ดิสนีย์ สตูดิโอส์ในเบอร์แบงค์ (ซึ่งเปิดตัวในปี 1940 และที่ที่ภาพยนตร์ปี 1964 ถ่ายทำทั้งเรื่อง) รวมถึงบิ๊ก สกาย แรนช์ ขนาด 10,000 เอเคอร์ในซิมี วัลลีย์ (ซึ่งใช้แทนภูมิประเทศของออสเตรเลียในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ของเรื่อง) 
 
• “Saving Mr. Banks” เป็นภาพยนตร์เรื่องที่สามที่ถ่ายทำที่ดิสนีย์แลนด์ ภาพยนตร์เรื่องล่าสุดที่ถ่ายทำที่สวนสนุกแห่งนี้คือผลงานกำกับเรื่องแรกของทอม แฮงค์ “That Thing You Do” และภาพยนตร์อีกเรื่องที่ถ่ายทำที่สวนสนุกอายุเก่าแก่ 58 ปีแห่งนี้คือผลงานการกำกับเรื่องแรกของนอร์แมน ยิววิสันในปี 1962 เรื่อง “40 Pounds of Trouble” 
 
• สตูดิโอวอลท์ ดิสนีย์ สตูดิโอส์ เป็นหนึ่งในซาวน์สเตจที่ใหญ่ที่สุดในลอสแองเจลิส (สเตจ 2) ซึ่งตอนนี้ได้รับการตั้งชื่อว่า “จูลี แอนดรูว์ส สเตจ” เพราะอาคารขนาด 31,200 ตารางฟุตแห่งนี้เป็นสถานที่ถ่ายทำ “Mary Poppins” ในปี 1963 

 

Saving Mr. Banks - สุภาพบุรุษนักฝัน

 

• ผู้กำกับจอห์น ลี แฮนค็อกต้องการภูมิประเทศที่กว้างขวางของทิวเขาและพุ่มไม้เพื่อจำลองภาพชนบทห่างไกลของออสเตรเลียเมื่อร้อยปีที่แล้ว แอนดรูวว์ อัลล์แมน ผู้จัดการฝ่ายโลเกชันผู้คร่ำหวอดในวงการ พบบิ๊ก สกาย แรนช์ ขนาด 10,000 เอเคอร์ในซิมี วัลลีย์, แคลิฟอร์เนีย ที่น่าประทับใจจนดีน พ่อของแอนนี บัคลีย์ นักแสดงหญิงชาวออสเตรเลีย คิดว่าเขาได้กลับไปบ้านเกิดของเขาจริงๆ เสียอีก 
 
• ระหว่างการเดินทางไปคัดเลือกนักแสดงที่ออสเตรเลีย ผู้กำกับจอห์น ลี แฮนค็อกและผู้อำนวยการสร้างอลิสัน โอเวนได้เดินทางไปที่แมรีโบโรห์, ควีนส์แลนด์ เพื่อดูสถานที่ที่พี.แอล. แทรเวอร์สเคยใช้ชีวิตอยู่สมัยเด็ก 
 
• ทีมผู้สร้างได้เข้าถึงแหล่งข้อมูลที่วิเศษสุดในการสร้าง “Saving Mr.Banks” ซึ่งก็คือวอลท์ ดิสนีย์ แฟมิลี มิวเซียมในเดอะ เพรซิดิโอแห่งซานฟรานซิสโก พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ที่เปิดตัวในเดือนตุลาคม ปี 2009 ร่วมก่อตั้งโดยไดแอน ดิสนีย์ มิลเลอร์ ลูกสาวของดิสนีย์ และหลานชาย วอลเตอร์ อี.ดี. มิลเลอร์ และเป็นเจ้าของและบริหารงานโดยมูลนิธิวอลท์ ดิสนีย์ แฟมิลี ที่ไม่แสวงหาผลกำไร พิพิธภัณฑ์ขนาด 40,000 ตารางฟุตแห่งนี้นำเสนอเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดและสิ่งของและของที่ระลึกทางประวัติศาสตร์ที่จะเนรมิตชีวิตให้กับความสำเร็จต่างๆ ของดิสนีย์ 
 
 
• ก่อนหน้าการถ่ายทำฉากแฟลชแบ็คในออสเตรเลีย โคลิน ฟาร์เรล ผู้รับบทพ่อของพี.แอล. แทรเวอร์สรู้ว่าเขาจะไม่มีโอกาสได้พบกับทีมนักแสดงคนอื่นๆ ที่แสดงในส่วนของเรื่องราวที่เป็นปี 1961 ด้วยความที่ฟาร์เรลชื่นชมผลงานของเพื่อนร่วมแสดงของเขา เขาก็เลยจัดงานเลี้ยงดินเนอร์ขึ้นที่บ้านในฮอลลีวูดของเขา ซึ่งมีการฉายภาพยนตร์เรื่อง “Mary Poppins” ด้วย มีคนมาร่วมงานประมาณ 25 คนและพวกเขาก็ใช้เวลาในค่ำคืนนั้นสนุกสนานกับการได้ทำความรู้จักกันและการดูภาพยนตร์อมตะเรื่องนี้ 
 
• ในภาพยนตร์เรื่องนี้ พี.แอล. แทรเวอร์ส ที่รับบทโดยเอ็มมา ธอมป์สัน เปิดประตูห้องโรงแรมของเธอในเบเวอร์ลี ฮิลส์ และพบว่าห้องของเธอเต็มไปด้วยของที่ระลึกของดิสนีย์ (เอื้อเฟื้อโดยผู้ตกแต่งฉาก ซูซาน เบนจามิน ผู้ประดับห้องนั้นด้วยของสารพัดอย่างตั้งแต่ตุ๊กตามิคกี้ เมาส์ขนาดหกฟุต ไปจนถึงลูกโป่ง) ผู้บริหารและคนทำหนังผู้คร่ำหวอดในวงการมานาน ฌอน เบลลีย์ ประธานฝ่ายโปรดักชันคนปัจจุบันของดิสนีย์ เกิดแรงบันดาลใจที่จะทำแบบเดียวกันกับเอ็มมา ธอมป์สันบ้าง เขาตกแต่งห้องโรงแรมของธอมป์สันในลอสแองเจลิสด้วยของที่ระลึกดิสนีย์ให้มากที่สุดเท่าที่เขาจะใส่ไปในห้องของเธอได้ ประมาณหนึ่งสัปดาห์ให้หลัง เบลลีย์ได้รับข้อความขอบคุณจากธอมป์สัน ซึ่งเธอถามว่าพวกเขาได้ซ่อนกล้องวิดีโอไว้ในห้องเพื่อบันทึกภาพปฏิกิริยาของเธอไว้ด้วยรึเปล่า! 
 
Saving Mr. Banks - สุภาพบุรุษนักฝัน
 
• ก่อนหน้าการถ่ายทำจะเริ่มต้นขึ้น ผู้กำกับจอห์น ลี แฮนค็อกได้นำทีมนักแสดงบางส่วนไปยังอาคารแคปิตอล เรคคอร์ดส์ ที่โด่งดัง ซึ่งตั้งอยู่ตรงสี่แยกถนนฮอลลีวูดตัดกับไวน์ เพื่อบันทึกเสียงสำหรับเพลงจาก “Mary Poppins” บางเพลงของพี่น้องเชอร์แมน เซสชันนั้นเกิดขึ้นเพื่อบันทึกเสียงเพลงที่จะใช้เปิดในตอนที่ทีมงานจัดฉากที่พี่น้องเชอร์แมนและมือเขียนบท ดากราดี้ ร้องเพลงให้กับพี.แอล. แทรเวอร์ส พวกเขาใช้เวลาในยามบ่ายที่แสนสนุกสนานในห้องอัดเสียงของแคปิตอล ด้วยการร้องท่อนต่างๆ ของเพลงที่ถูกใส่มาใน “Saving Mr. Banks” เช่น “A Spoonful of Sugar,” “Feed the Birds,” “Fidelity Fiduciary Bank” และ “Let’s Go Fly a Kite” 
 
• ริชาร์ด เชอร์แมน ผู้ร่วมกับโรเบิร์ต พี่ชายของเขา แต่งเพลงที่ตอนนี้ขึ้นหิ้งคลาสสิกไปแล้วสำหรับ “Mary Poppins” ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาใน และมุมมองที่เขามีต่อยุคสมัยนั้นและการมีส่วนร่วมของเขาเป็นที่ยกย่องอย่างสูงจากทีมงานและนักแสดง เขาเล่าว่าวอลท์ ดิสนีย์ชื่นชอบเพลง “Feed the Birds” มากๆ เพราะมันทำให้เขาประทับใจด้วยข้อคิดที่ว่าการให้ความรักไม่ได้ใช้อะไรมากมายเลย ดิสนีย์จะโทรหาพี่น้องเชอร์แมนแล้วขอให้พวกเขามาเล่นเพลงนี้ ซึ่งพวกเขาก็จะไปที่ออฟฟิศของดิสนีย์และเล่นเพลงนี้ให้เขาฟัง มันกลายเป็นกิจวัตรที่เกิดขึ้นเกือบทุกวันศุกร์ 
 
• ในตอนที่ทีมงานและนักแสดงประมาณ 150 ชีวิตได้มารวมตัวกันในช่วงท้ายของงานสร้างในฉากรีเฮอร์ซัล สตูดิโอ โดยที่คนส่วนใหญ่ที่รวมตัวกัน ณ ที่นั้นไม่รู้ล่วงหน้ามาก่อน ริชาร์ด เชอร์แมนได้นั่งลงหน้าเปียโนแล้วเริ่มเล่นเพลง “Let’s Go Fly a Kite” และขอให้ทุกคนในที่นั้นร้องเพลงคลอไปด้วย ทันใดนั้น คนจำนวนมากก็คว้ามือถือขึ้นมาบันทึกภาพมิวสิค วิดีโอที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันนี้ เพราะมันเป็นโอกาสครั้งหนึ่งในชีวิตที่พวกเขาจะได้อยู่ต่อหน้าตำนานที่มีลมหายใจ 
 
• เดอะ วอลท์ ดิสนีย์ อาร์ไคฟ์ ทำให้ทีมงานและนักแสดงได้เข้าถึงเสียงบันทึกนานหกชั่วโมงในการพบกันระหว่างพี.แอล. แทรเวอร์สและทีมงานของ “Mary Poppins” ฉบับดั้งเดิม ในเสียงบันทึกนั้น ที่บันทึกตามคำยืนกรานของทราเวอร์สระหว่างวันที่ 5-10 เมษายน ปี 1961 เราได้ยินนักเขียนผู้นี้แสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่ชัดเจนต่อทีมงานของดิสนีย์ ที่ประกอบไปด้วยนักแต่งเพลง ริชาร์ด เอ็ม. และโรเบิร์ต บี. เชอร์แมน, มือเขียนบท ดอน ดากราดี้และบิล โดเวอร์ หัวหน้าแผนกเรื่องราว (ผู้รับหน้าที่ผู้คอยดูแลแทรเวอร์สระหว่างการมาเยือนของเธอ) 
 
• เคลลี มาร์เซล มือเขียนบทร่วมของ “Saving Mr. Banks”, ผู้กำกับจอห์น ลี แฮนค็อกและนักแสดงเจสัน ชวอร์ซแมน (ริชาร์ด เชอร์แมน), บี.เจ. โนวัค (โรเบิร์ต เชอร์แมน) และแบรดลีย์ วิทฟอร์ด (ดอน ดากราดี้) ได้ไปเยี่ยมชมวอลท์ ดิสนีย์ อาร์ไคฟ์ในต้นปี 2012 ซึ่งเป็นเวลาหลายเดือนก่อนที่จะถ่ายทำ “Saving Mr. Banks” นักแสดงและทีมงานของอาร์ไคฟ์ได้คุยถึงความสัมพันธ์ระหว่างพี.แอล. แทรเวอร์ส ผู้เขียน “Mary Poppins” และทีมงานดิสนีย์ โดยได้ดูภาพถ่ายต่างๆ ของตำนานแห่งดิสนีย์ ที่นักแสดงจะต้องสวมบทและดูฟุตเตจจากการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง “Mary Poppins” 
 
• หลังจากได้บท “Saving Mr. Banks” มาแล้ ดิสนีย์ สตูดิโอก็ได้ดึงข้อมูลอ้างอิงมาจากเอกสาร 500 หน้าจากการพัฒนา “Mary Poppins” จากร่างทรีทเมนต์ไปสู่บทภาพยนตร์ และการโต้ตอบระหว่างผู้มีบทบาทสำคัญต่องานสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ 

 

Saving Mr. Banks - สุภาพบุรุษนักฝัน

 

• ในการจำลองสไตล์การเล่นเปียโนที่มีเอกลักษณ์ของริชาร์ด เชอร์แมน เจสัน ชวอร์ซแมนได้ดูฟุตเตจโคลสอัพมือของริชาร์ดขณะเล่นเปียโนในออฟฟิศของวอลท์ ดิสนีย์ ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่พี่น้องเชอร์แมนได้เล่นเพลง “Feed the Birds” ให้กับดิสนีย์ เมื่อห้าสิบปีก่อนหน้านี้ นอกจากนั้น ชวอร์ซแมนยังใช้เวลานานหลายชั่วโมงที่บ้านของริชาร์ด เชอร์แมน เพื่อเรียนรู้เทคนิคที่เหมาะสมและมีความสุขที่ได้พูดคุยกับนักแต่งเพลงชื่อดังผู้นี้ 
 
• ในการจำลองดิสนีย์ สตูดิโอ, สวนสนุกดิสนีย์แลนด์และรอบปฐมทัศน์ของ “Mary Poppins” ที่กราวแมนส์ ไชนิส เธียเตอร์ตามลักษณะของพวกมันในต้นยุค 60s ทีมงาน “Saving Mr. Banks” ได้ดูภาพถ่ายกว่า 500 ภาพจากคอลเล็กชันห้องสมุดภาพของดิสนีย์ (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวอลท์ ดิสนีย์ อาร์ไคฟ์) ซึ่งรวมถึงภาพของทางเดินและออฟฟิศในสตูดิโอ, หน้าต่างร้านค้าในดิสนีย์แลนด์และภาพถ่ายทางอากาศ 
 
• แผนกศิลป์ของ “Saving Mr. Banks” ได้รับเชิญให้ร่วมงาน “D23 Presents Treasures of the Walt Disney Archives at the Ronald Reagan Presidential Library and Museum” ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีการแสดงภาพการตกแต่งออฟฟิศอย่างเป็นทางการจริงๆ ของวอลท์ ดิสนีย์ แผนกศิลป์ได้วัดขนาดและถ่ายภาพสิ่งของและเฟอร์นิเจอร์จริงๆ เหล่านั้นเพื่อนำมาสร้างแบบจำลองขึ้นมาใหม่ ซึ่งรวมถึงโต๊ะของวอลท์ ดิสนีย์ โต๊ะข้างและชั้นวางของ ทีมงานอาร์ไคฟ์ถึงกับหาป้ายที่เหมาะสมกับยุคสมัยนั้นจากอาคารอนิเมชันของดิสนีย์ สตูดิโอ ซึ่งแผนกศิลป์ได้อ้างถึงในตอนที่จำลองทางเดินในอาคารขึ้นมา 
 
• ในอาร์ไคฟ์ แผนกศิลป์ของ “Saving Mr. Banks” ได้ศึกษาภาพถ่ายออฟฟฟิศจริงๆ และออฟฟิศอย่างเป็นทางการของวอลท์ ดิสนีย์ ในช่วงปลายยุค 60s ในตอนที่เดฟ สมิธ ผู้ก่อตั้งวอลท์ ดิสนีย์ อาร์ไคฟ์ได้วัดขนาดและจดรายละเอียดสิ่งของในออฟฟิศแห่งประวัติศาสตร์นั้น 
 
• เดอะ วอลท์ ดิสนีย์ อาร์ไคฟ์ ได้เก็บรวบรวมภาพของของที่ระลึกกว่า 150 ชิ้น ซึ่งรวมถึงคู่มือแนะนำของที่ระลึกจากดิสนีย์แลนด์ในยุคนั้น, โปสการ์ด, แคตตาล็อกสินค้า, กระดาษบันทึกและบัตรเชิญร่วมงานรอบปฐมทัศน์ ให้ทีมงานได้ใช้ประโยชน์ 
 
• งานอาร์ตเวิร์ค 124 ชิ้นที่ถูกสร้างขึ้นระหว่างปี 1961-1964 รวมถึงภาพสเก็ตช์สตอรีบอร์ด, ภาพวาดคอนเซ็ปต์, ภาพวาดฉาก, ภาพออกแบบชุดและภาพเพื่อการประชาสัมพันธ์ ได้ถูกนำมาให้ทีมงานของ “Saving Mr. Banks” ได้ดูด้วย 
 
• อาร์ไคฟ์ได้ให้ทอม แฮงค์ ได้ดูฟุตเตจอ้างอิงเกี่ยวกับวอลท์ ดิสนีย์ ซึ่งรวมถึงการสัมภาษณ์ปี 1963 กับเฟลทเชอร์ มาร์เคิล สำหรับแคนาเดียน บรอดคาสต์ คัมปะนี มีผู้กล่าวว่าการสัมภาษณ์ครั้งนั้นเป็นภาพสะท้อนที่ตรงกับความจริงมากที่สุดในการที่วอลท์ ดิสนีย์อธิบายถึงผลงานและหลักความคิดของเขา 
 
• วอลท์ ดิสนีย์ อาร์ไคฟ์คอยตอบคำถามจากทีมงานและนักแสดงทุกวันในรอบสัปดาห์ ซึ่งคำถามต่างๆ ก็รวมถึง “บริษัทเครื่องดื่มไหนที่ทำสัญญาวางสินค้าที่ดิสนีย์แลนด์ในปี 1961,” “ที่ตั้งของร้านอาหารและร้านขายของตามเมน สตรีท, อเมริกาในดิสนีย์แลนด์อยู่ที่ไหน” และ “วอลท์ ดิสนีย์ ออกรายการโทรทัศน์ ‘An Adventure in the Magic Kingdom’ ในวันที่เท่าไหร่” 
 
• รางวัลดิสนีย์ อคาเดมี อวอร์ดบางรางวัลได้รับการหยิบยืมมาจากชั้นวางแสดงที่วอลท์ ดิสนีย์ เวิลด์ รีสอร์ท เพื่อประดับฉากออฟฟิศของวอลท์ ดิสนีย์ใน “Saving Mr. Banks”
 
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
 
 
พี่ชาย My Bromance
 
เกร็ดหนังดี ข้อควรรู้ก่อนดูพี่ชาย My Bromance 
 
* พระเอก ชื่อเล่นว่า ฟลุ๊ค เหมือนกัน แต่เขียนไม่เหมือนกัน ทั้งคู่ ฟลุ๊ค พงศธร ศรีปินตา และ ฟลุค ธีรภัทร โลหนันทน์ 
 
* ทำพิธีบวงสรวงเมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม 2556 ที่ผ่านมา ที่เทวาลัยสถานพระพิฆเนศวัดโลกโมฬี จ.เชียงใหม่ 
 
* สบทบด้วยนักร้องชื่อดังอย่าง มาร์ค-วิทวัส ท้าวคำลือ (มาร์ค AF 7) 
 
 * พี่ชาย My Bromanceฉายรอบปฐมทัศน์อย่างเป็นทางการกันไปแล้ว เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2556 ณ โรงภาพยนตร์เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ เซ็นทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่ แต่ในกรุงเทพฯ หนังเข้าฉาย 20 กุมภาพันธ์ 2557 
 
 * หนังเข้าฉาย เครือเมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ 7 โรง 6 จังหวัด (เอสพลานาด รัชดา/เชียงใหม่ 2 สาขา/อุบลฯ/อุดรฯ/ขอนแก่น และหาดใหญ่ซีนีเพล็กซ์) *เปิดให้จองตั๋วล่วงหน้าวันที่ 18 กพ. นี้ เฉพาะสาขาเอสพลานาด รัชดา และเซ็นทรัล เชียงใหม่ แอร์พอร์ท !! 
 
 "เอสพลานาด รัชดา" รอบฉาย : 14:00 น , 16:30 น, 19:00 น. 
 
 "เซ็นทรัล เชียงใหม่ แอร์พอร์ท" รอบฉายเดียวคือ 20.00 น. โทรศัพท์จองตั๋วล่วงหน้าได้ที่ 02-354-2133 (เอสพลานาด รัชดา) และ 053-283-939 (เซนทรัล เชียงใหม่ แอร์พอร์ท) 
 
สาขาอื่น จังหวัดอื่น ซื้อบัตรที่หน้าโรงภาพยนตร์เท่านั้น !! 
 
 *เป็นหนังเรื่องแรกในชีวิตของฟลุ๊ค พงศธร และฟลุค ธีรภัทร 
 
* ผู้กำกับใช้เวลาสร้างเกือบ 2 ปี โดยใช้เงินส่วนตัวทำจนเข้าตานายทุน 
 
* ถ่ายที่เชียงใหม่ทั้งเรื่อง นักแสดงทีมงาน 80% เป็นคนเชียงใหม่ และมีการพูดภาษาเหนือในหนังโดยคนเหนือจริง ๆ 
 
* เป็นหนังใหญ่เรื่องแรกของ ผกก.ณิชชี่ที่ดีที่สุดและอาจไม่ทำอีกแล้ว 
 
* นำเสนอมุมมองความรักรูปแบบใหม่ที่รักกันที่ใจ ใช่หน้าตาและเพศ 
 
* ฉายแค่ 7 โรง 6 จังหวัด หากพลาด โอกาสที่จะได้ดูอีก คงหายาก ! 
 
 * เป็นหนังที่เก็บความสด ใหม่ ใส ซื่อ บริสุทธิ์ น่ารัก เด็กที่สุด ของฟลุ๊ค พงศธร และฟลุค ธีรภัทรไว้บนจอภาพยนตร์ เพราะปัจจุบันทั้งสองโตเป็นผู้ใหญ่หมดแล้ว 
 
: The Monuments Men, พี่ชาย My Bromance, ปอมเปอี, Saving Mr. Banks

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • แอบส่อง "FB ณิชชี่ ณิชภูมิ" ประเด็นดราม่า "ฟลุ๊ค พงศธร"
  • ฟลุ๊ค พงศธร เนื้อหอม หนุ่มๆรุมจีบ ต้นสังกัดสั่งห้ามมีแฟน!
  • ผู้กำกับและนักแสดงจาก The Monuments Men ตอบคำถามแฟนๆ ผ่าน Skype
  • วิจารณ์ภาพยนตร์เรื่อง "The Monuments Men - กองทัพฉกขุมทรัพย์โลกสะท้าน"
  • ภาพจากหนังเซ็ตใหม่จาก The Monuments Men – กองทัพฉกขุมทรัพย์โลกสะท้าน
  •  
     
     
    ร่วมแสดงความคิดเห็น
     
    ชื่อ :
     
    ความคิดเห็น :